วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อียิปต์ดินแดนลุ่มแม่น้ำไนล์ ตอน อียิปต์โบราณ 1

อียิปต์โบราณ
อียิปต์โบราณ หรือ ไอยคุปต์ เป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางจนถึงปากแม่น้าไนล์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์โบราณเริ่มขึ้นประมาณ 3150 ปีก่อนคริตศักราช โดยการรวมอานาจทางการเมืองของอียิปต์ตอนเหนือและตอนใต้ ภายใต้ฟาโรห์องค์แรกแห่งอียิปต์ และมีการพัฒนาอารยธรรมเรื่อยมากว่า 3,000 ปี ประวัติของอียิปต์โบราณปรากฏขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือที่รู้จักกันว่า "ราชอาณาจักร" มีการแบ่งยุคสมัยของอียิปต์โบราณเป็นราชอาณาจักร ส่วนมากแบ่งตามราชวงศ์ที่ขึ้นมาปกครอง จนกระทั่งราชอาณาจักรสุดท้าย หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "ราชอาณาจักรใหม่" อารยธรรมอียิปต์อยู่ในช่วงที่มีการพัฒนาที่น้อยมาก และส่วนมากลดลง ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันที่อียิปต์พ่ายแพ้ต่อการทาสงครามจากอานาจของชาติอื่น จนกระทั่งเมื่อ 31 ปีก่อนคริตศักราชก็เป็นการสิ้นสุดอารยธรรมอียิปต์โบราณลง เมื่อจักรวรรดิโรมันสามารถเอาชนะอียิปต์ และจัดอียิปต์เป็นเพียงจังหวัดหนึ่งในจักรวรรดิโรมัน
อารยธรรมอียิปต์พัฒนาการมาจากสภาพของลุ่มแม่น้าไนล์ การควบคุมระบบชลประทาน, การควบคุมการผลิตพืชผลทางการเกษตร พร้อมกับพัฒนาอารยธรรมทางสังคม และวัฒนธรรม พื้นที่ของอียิปต์นั้นล้อมรอบด้วยทะเลทรายเสมือนปราการป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอก นอกจากนี้ยังมีการทาเหมืองแร่ และอียิปต์ยังเป็นชนชาติแรกๆที่มีการพัฒนาการด้วยการเขียน ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ ,การบริหารอียิปต์เน้นไปทางสิ่งปลูกสร้าง และการเกษตรกรรม พร้อมกันนั้นก็มีการพัฒนาการทางทหารของอียิปต์ที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ราชอาณาจักร โดยประชาชนจะให้ความเคารพกษัตริย์หรือฟาโรห์เสมือนหนึ่งเทพเจ้า ทาให้การบริหารราชการบ้านเมืองและการควบคุมอานาจนั้นทาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ชาวอียิปต์โบราณไม่ได้เป็นเพียงแต่นักเกษตรกรรม และนักสร้างสรรค์อารยธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นนักคิด, นักปรัชญา ได้มาซึ่งความรู้ในศาสตร์ต่างๆมากมายตลอดการพัฒนาอารยธรรมกว่า 3,000 ปี ทั้งในด้านคณิตศาสตร์, เทคนิคการสร้างพีระมิด, วัด, โอเบลิสก์, ตัวอักษร และเทคนิคโลยีด้านกระจก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาประสิทธิภาพทางด้านการแพทย์, ระบบชลประทานและการเกษตรกรรม อียิปต์ทิ้งมรดกสุดท้ายแก่อนุชนรุ่นหลังไว้คือศิลปะ และสถาปัตยกรรม ซึ่งถูกคัดลอกนาไปใช้ทั่วโลก อนุสรณ์สถานที่ต่างๆในอียิปต์ต่างดึงดูดนักท่องเที่ยว นักประพันธ์กว่าหลายศตวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบันมีการค้นพบวัตถุใหม่ๆในอียิปต์มากมายซึ่งกาลังตรวจสอบถึงประวัติความเป็นมา เพื่อเป็นหลักฐานให้แก่อารยธรรมอียิปต์ และเป็นหลักฐานแก่อารยธรรมของโลกต่อไป

ราชวงศ์ของฟาโรห์
แห่งอียิปต์โบราณ
(เมืองหลวงที่ธีบส์)






















































































































                                                                                     เมมฟิสและสุสานโบราณ  
ประวัติ
ช่วงปลายสมัยยุคหินเก่า แอฟริกาตอนเหนือมีสภาพอากาศที่ร้อนมาก และแห้งแล้ง ทาให้คนจานวนมากลงมาอาศัยอยู่รอบๆบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้าไนล์ และกลุ่มชนล่าสัตว์,เก็บพืชผลเร่ร่อนเริ่มอาศัยเป็นหลักแหล่งเมื่อประมาณ 1.8 ล้านปีที่แล้ว แม่น้าไนล์จึงเป็นแม่น้าสายชีวิตของชาวอียิปต์มาช้านาน ความอุดมสมบูรณ์ของบริเวณรอบแม่น้าไนล์ เสมือนหนึ่งที่ธรรมชาติหยิบยื่นโอกาสให้แก่มนุษย์ที่จะตั้งถิ่นฐาน พัฒนาการเกษตรกรรม, เศรษฐกิจ และสังคม และนับเป็นศูนย์กลางทางสังคมสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมของมนุษยชาติ

ลาดับราชวงศ์
·       ปลายยุคก่อนราชวงศ์แห่งอียิปต์โบราณ
·       ยุคราชวงศ์ (ดูได้ที่ ลาดับราชวงศ์และฟาโรห์แห่งอียิปต์)
o  ราชวงศ์ต้นๆ (ราชวงศ์ที่หนึ่ง และ ราชวงศ์ที่สอง)
o  ราชอาณาจักรเก่า (ราชวงศ์ที่สาม ถึง ราชวงศ์ที่หก)
o   ช่วงต่อระยะที่หนึ่ง (ราชวงศ์ที่เจ็ด ถึง ราชวงศ์ที่สิบเอ็ด)
o  ราชอาณาจักรกลาง (ราชวงศ์ที่สิบเอ็ด ถึง ราชวงศ์ที่สิบสี่)
o   ช่วงต่อระยะที่สอง (ราชวงศ์ที่สิบห้า ถึง ราชวงศ์ที่สิบเจ็ด)
o  ราชอาณาจักรใหม่ (ราชวงศ์ที่สิบแปด ถึง ราชวงศ์ที่ยี่สิบ)
o   ช่วงต่อระยะที่สาม (ราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ด ถึง ราชวงศ์ที่ยี่สิบห้า)
o   ยุคปลาย (ราชวงศ์ที่ยี่สิบหก ถึง ราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ด)
o   ยุคกรีก - โรมัน(.. 211 ถึง พ.. 1182)
§  กษัตริย์มาซิโดเนีย (.. 211 ถึง พ.. 238)
§   ราชวงศ์ปโตเลมี (.. 238 ถึง พ.. 513)
§   อียิปต์ตุส (รัฐหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน พ.. 513 ถึง พ.. 1182)
§  มุสลิมบุกอียิปต์ (.. 1182)


วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เย้! พรุ่งนี้มีแต่พักหนัก!

โฮะ!ๆๆๆๆ...ขอหัวเราะแบบแซนตี้
ดีจังเนอะ! พรุ่งนี้สบ้ายสบายม่ายมีเรียน ฮิๆๆ
ในที่สุด วันหยุดพักสุดรักก็มาถึง...
เรียนติดต่อกันมาหลายวันจนแทบไม่ได้พักสมอง
(อันที่จริงก็แทบจะไม่มีสมองให้พักสักเท่าไร คิกๆๆ)

เฮ้อ!...ถึงจะหยุดพัก...แต่ไม่ยักกะได้พักสมอง
คุณอาจารย์เค้าก็มีการบ้านให้เขียนบทความเรื่องอะไรก็ได้มา 1 เรื่อง!

แหม มันก็ไม่ใช่เรื่องราวอะไรใหญ่โตหรอกคะ(ทำเป็นเน้นไปงั้นเอง)
ก็คุณฉันนึกเรื่องไม่ออกว่าจะเขียนอะไร...
อันที่จริงปัญหาหลักก็ไม่ได้อยู่ที่เรื่องหรอกนะค่ะแต่...
มันอยู่ที่คุณฉันเป็น 'นางสาวโลเทค!' น่ะสิ ปัญหาเนี้ย ใหญ่ จริงๆคะ!

อุ้ย! (เหลือบแหลไปเห็นนาฬิกา)
ดึกเชียวคงต้องอำลาเจ้าสี่เหลี่ยมฉลาดนี่ไปพักผ่อนแล้วล่ะ
ฮูย!บ่นซะสั้นเป็นบรรทัดๆเชียว

/ปล.1 นางสาวโลเทค = นางสาวโลเทคโนโลยีคะ
/ปล.2 หวังว่าคุณอาจารย์ผู้ประเสริฐศรีเข้ามาเจอะเข้า คงไม่พิฆาตหั่นเกรดทิ้งหรอกนะค่ะ
(ยิ่งสวยๆอยู่)...อย่าถือคนบ้าอย่าว่าคนบ่นเลยคะ แค่เป็นการระบายสมองตามประสาเด็กเหมือนจะเครียดเท่านั้นเอง

อียิปต์ดินแดนลุ่มแม่น้ำไนล์



                                             ประเทศอียิปต์
               สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ جمهورية مصر العربية (อาหรับ)
                           ธงชาติ
                               เพลงชาติ: Bilady, Bilady, Bilady

เมืองหลวง (และเมืองใหญ่สุด)
ไคโร (อัลกอฮิเราะห์) 30°2N 31°13E / 30.033°N 31.217°E
ภาษาทางการ
ภาษาอาหรับ
 การปกครอง สาธารณรัฐ
 - ประธานาธิบดี ฮอสนี มุบารัก
 - นายกรัฐมนตรี อาห์เมด นาซิฟ
สถาปนา
 - ราชวงศ์แรก ราว 3150 ปีก่อนคริสตกาล
 - เป็นที่ยอมรับเอกราช 28 กุมภาพันธ์ พ.. 2465
 - ประกาศสาธารณรัฐ 18 มิถุนายน พ.. 2496 พื้นที่ - รวม 1,001,449 ตร.กม. (30) 386,660 ตร.ไมล์
 - แหล่งน้า (%) 0.6
ประชากร
 - 2549 (ประมาณ) 78,887,007 (15)
- 2539 (สำรวจ) 59,312,914
 - ความหนาแน่น 74 คน/ตร.กม. (120) 192 คน/ตร.ไมล์
 จีดีพี (อานาจซื้อ) 2548 (ประมาณ)
 - รวม 305.253 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ (32)
- ต่อหัว 4,317 ดอลลาร์สหรัฐ (112) เอชดีไอ (2549) 0.702 (กลาง) (111)
สกุลเงิน
ปอนด์อียิปต์ (LE) (EGP)
 เขตเวลา
 EET (UTC+2) - (DST) EEST (UTC+3)
โดเมนบนสุด .eg รหัสโทรศัพท์ 20

สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt) (อาหรับ: مصر (มิศรุ), ถ่ายเขียนเป็นอักษรโรมันว่า Mişr หรือ Maşr ในภาษาถิ่นของอียิปต์) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด
ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 กมซึ่งรวมถึงคาบสมุทรซีนาย(ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดานด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง
ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้าไนล์ (ประมาณ 40,000 กม.2) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง
ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ
ชื่อ Egypt มาจากชื่อภาษาละตินว่า Aegyptus และชื่อภาษากรีก ว่า Αιγυπτος (Aiguptos: ไอกึปตอส นิยมใช้ในภาษาไทยว่า ไอยคุปต์) จากภาษาอียิปต์โบราณว่า Hi-ku-ptah: ฮิ-คุ-ปตาห์ ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองเทเบส
ประวัติ
สาหรับประวัติศาสตร์ของอียิปต์โบราณ สามารถดูได้ที่ อียิปต์โบราณประเทศอียิปต์เป็นประเทศทีมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ถึง 5,000 กว่าปี
ในเดือนกรกฎาคม ค.. 1882 อังกฤษส่งเรือรบไปยังเมืองท่าอเล็กซานเดรีย และยึดครองอียิปต์ได้สาเร็จ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษได้ประกาศว่าอียิปต์เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวอียิปต์ที่รักชาติได้เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราช ใน ค.. 1922 อังกฤษได้ให้เอกราชแก่อียิปต์ โดยเมื่อแรกรับเอกราช อียิปต์ได้ปกครองโดยราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี ที่สืบเชื้อสายจากสุลต่านแห่งอียิปต์ โดยสุลต่านฟูอัด ได้สถาปนาพระองค์เป็น พระเจ้าฟูอัดที่ 1 แห่งอียิปต์ และปกครองต่อมาอีกสองพระองค์คือ พระเจ้าฟารุกที่ 1 แห่งอียิปต์ และพระเจ้าฟูอัดที่ 2 แห่งอียิปต์ ก็เป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี และระบอบกษัตริย์แห่งอียิปต์ โดยได้มีการทารัฐประหารเป็นระบอบสาธารณรัฐจนถึงปัจจุบัน

การเมือง
อียิปต์ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข การเลือกตั้งประธานาธิบดีกระทาโดยการลงประชามติ และจะต้องได้รับเสียงสนับสนุนอย่างน้อย 2 ใน 3 ของจานวนสมาชิกสภาประชาชน มีวาระการดารงตาแหน่ง 6 ปี ปัจจุบันนาย Mohamed Hosni Mubarak เป็นประธานาธิบดี ได้รับเลือกให้ดารงตาแหน่งประธานาธิบดี 4 โดยเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2542 สมัชชาประชาชน (People’s Assembly) ของอียิปต์ ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 454 คน ได้ลงคะแนนเสียง (445 เสียง) สนับสนุนให้ประธานาธิบดี Hosni Mubarak ดารงตาแหน่งมาตั้งแต่ปี 2524 ให้ดารงตาแหน่งประธานาธิบดีต่อไปอีกเป็นสมัยที่ 4 (ดารงตาแหน่งคราวละ 6 ปี) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2542 ภายหลังที่ได้รับเลือกตั้ง ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ นาย Ahmad Nazif ได้รับแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี ค.. 2004 อียิปต์มีพรรคการเมือง 13 พรรคที่สาคัญ ได้แก่ National Democratic Party (NDP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลมีประธานาธิบดีมูบารัคเป็นประธานพรรค Labour Party, New Wafq Party, Liberal Party (Ahrar), Tabammu (Progressive Unionist Party) และ Democratic Nasserite Party พรรค NDP ของรัฐบาล จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2521 ในสมัยประธานาธิบดีซาดัต และได้รับเลือกตั้งเข้าบริหารประเทศตลอดมา
รัฐสภาอียิปต์มี 2 สภา คือ - สภาประชาชน (People’s Assembly) มีสมาชิก 454 คน มาจากการเลือกตั้ง 444 คน และประธานาธิบดีแต่งตั้ง 10 คน มีวาระ 5 ปี ประธานรัฐสภา คือ Dr. Ahmed Fathi Sorour - สภาที่ปรึกษา (Shura Council) มีสมาชิก 285 คน ประธานาธิบดีจะเป็นผู้แต่งตั้งจากบุคคลสาขาอาชีพต่าง ๆ จานวน 2 ใน 3 (190 คน) อีก 95 คน ประชาชนเป็นผู้เลือก มีวาระ 3 ปี

การแบ่งเขตการปกครอง
อียิปต์แบ่งเป็น 27 เขตผู้ว่าราชการ (governorates - muhafazah):แผนที่เขตการปกครองของประเทศอียิปต์
1 อัดดะเกาะห์ลียะห์ (Ad-Daqahliyah) ดาคาห์เลีย (Dakahlia) ล่าง
2 อัลบะห์รัลอะห์มาร์ (Al-Bahr Al-Ahmar) เรดซี (Red Sea) เขตแดน
3 อัลบุไฮเราะห์ (Al-Buhayrah) เบเฮรา (Behera) ล่าง
 4 อัลไฟยุม (Al-Fayyum) ฟายุม (Fayoum) บน
 5 อัลกะร์บียะห์ (Al-Gharbiyah) การ์เบีย (Gharbia) ล่าง
6 อัลอิสกันดะรียะห์ (Al-Iskandariyah) อเล็กซานเดรีย (Alexandria) ตัวเมือง
7 อัลอิสมะอิลียะห์ (Al-Isma'iliyah) อิสไมเลีย (Ismaïlia) ล่าง
8 อัลจีซะห์ (Al-Jizah) กิซา (Giza) บน
 9 อัลมินุฟียะห์ (Al-Minufiyah) เมนูเฟีย (Menoufia) ล่าง
10 อัลมิเนีย (Al-Minya) เมเนีย (Menia) บน
11 อัลกอฮิเราะห์ (Al-Qahirah) ไคโร (Cairo) ตัวเมือง
12 อัลกอลยุบียะห์ (Al-Qalyubiyah) คัลยูเบีย (Kalyoubia) ล่าง
 13 อัลอุกซูร์ (Al-Uqsur) ลักซอร์ (Luxor) บน
 14 อัลวะดีอัลจะดิด (Al-Wadi al-Jadid) นิวแวลลีย์ (New Valley) เขตแดน
15 อัชชะร์กียะห์ (Ash-Sharqiyah) ชาร์เกีย (Sharkia) ล่าง
16 อัสซุไวส์ (As-Suways) สุเอซ (Suez) ตัวเมือง
 17 อัสวาน (Aswan) อัสวาน (Aswan) บน
 18 อัสยูต (Asyut) อัสยูต (Asyut) บน
 19 บะนิซุไวฟ์ (Bani Suwayf) เบนี-ซูเอฟ (Beni-Suef) บน
20 บูร์ซะอิด (Bur Sa'id) พอร์ตซาอิด (Port Said) ตัวเมือง
21 ดิมยาต (Dimyat) ดาเมียตตา (Damietta) ล่าง
22 จะนุบซินะ (Janub Sina') เซาท์ไซไน (South Sinai) เขตแดน
23 คะฟรัชไชค์ (Kafr ash Shaykh) คาฟร์เอลเชก (Kafr El-Sheikh) ล่าง
 24 มะตรูห์ (Matruh) มาทรูห์ (Matrouh) เขตแดน
 25 กินะ (Qina) เคนา (Quena) บน
26 ชะมัลซินะ (Shamal Sina') นอร์ทไซไน (North Sinai) เขตแดน
 27 ซุฮัจ (Suhaj) ซูฮัก (Suhag) บน

ภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง อียิปต์ตั้งอยู่บนมุมสุดทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา และบริเวณเหนือข้ามคลองสุเอซไปในคาบสมุทรไซนาย
-   ภาคเหนือมีอาณาเขตติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
-   ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ติดอิสราเอล
-   ภาคตะวันออก ติดทะเลแดง
-   ภาคใต้ ติดซูดาน
-   และติดลิเบียทางภาคตะวันตก
อียิปต์เป็นประเทศที่มีแผ่นดินเชื่อมต่อระหว่างทวีปแอฟริกากับเอเชีย ผ่านตะวันออกกลาง ซึ่งจะเป็นจุดเชื่อมต่อที่มีความสาคัญมาแต่โบราณ หลังจากได้มีการขุดและเปิดใช้คลองสุเอซ เมื่อปี พ.. 2412 (.. 1869) เส้นทางผ่านคลองสุเอซของอียิปต์ได้กลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สาคัญแห่งหนึ่งของโลก
เศรษฐกิจ
รัฐบาลอียิปต์ปัจจุบันต้องเผชิญภาระที่หนักหน่วงในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีหนี้สินอยู่ประมาณ 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ อียิปต์ประสบปัญหาด้านระบบราชการและรัฐวิสาหกิจซึ่งมีขนาด ใหญ่และเป็นอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจ อัตราการเพิ่มของประชากรค่อนข้างสูง รัฐบาลอียิปต์ได้ใช้ความพยายามที่จะปฏิรูปเศรษฐกิจ ให้มีการค้าเสรี การแปรรูปกิจการของรัฐไปสู่ภาคเอกชน ส่งเสริมการลงทุน กระตุ้นรัฐวิสาหกิจให้เพิ่มผลผลิต ผลเลิกการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ อียิปต์ได้ขอความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ อาทิ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลก Paris Club รวมทั้งจากประเทศกลุ่มอาหรับอียิปต์ได้ทาการปฏิรูปทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี พ.. 2533 โดยใช้นโยบายเศรษฐกิจการตลาดให้มีการค้าเสรี การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ยกเลิกควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสะดวกขึ้น
ผลจากการปฏิรูปดังกล่าวทาให้เศรษฐกิจของอียิปต์กระเตื้องดีขึ้นสามารถ แก้ไขปัญหาการขาดดุลงบประมาณลดลงมาก ลดปัญหาเงินเฟ้อลงได้ในระดับหนึ่งรายได้หลักของอียิปต์จากน้ามันซึ่งผลิตได้วันละ 950,000 บาร์เรลและส่งออกขายครึ่งหนึ่ง ในแต่ละปีมีรายได้ประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการท่องเที่ยว ประมาณปีละ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากค่าผ่านคลองสุเอซปีละประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากแรงงานอียิปต์ในต่างประเทศ ประมาณ 5 ล้านคน ส่วนใหญ่ทางานในตะวันออกกลางในซาอุดีอาระเบียประมาณ 1 ล้านคน ในลิเบียประมาณ 1.5 ล้านคน ส่งเงินเข้าอียิปต์ประมาณปีละ 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ(ภายหลังการก่อวินาศกรรมในสหรัฐ ฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.. 2544 ทาให้อียิปต์ต้องสูญเสียรายได้ ประมาณ 1.5 – 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รัฐบาลอียิปต์ คาดว่า รายได้จากการท่องเที่ยวจะลดลงประมาณ ร้อยละ 20 และการส่งออก ร้อยละ 10 )

ประชากร
มีจานวนประมาณ 70 ล้านคน (ปี 2547) อยู่ในเขตเมืองร้อยละ 45 ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามบริเวณ 2 ฝั่งและที่ราบลุ่มแม่น้าไนล์ ประกอบด้วย 3 เชื้อชาติ คือ แฮมิติก-แซมิติก 99.8% เบดูอิน และนูเบียน 0.2% อัตราเพิ่มของประชากร ประมาณปีละ 1.9 % อายุเฉลี่ย 65 ปี ความหนาแน่นประชากรโดยเฉลี่ยทั่วประเทศ ประมาณ 75.68 คน/ตร.กม. กรุงไคโรและ ปริมณฑล มีประชากรประมาณ 16 ล้านคน จะมีความหนาแน่นมากที่สุดเฉลี่ย 34,000-35,000 คน/ตร.กม. รองลงมาคือ เมืองอเล็กซานเดรีย มีประชากรประมาณ 4 ล้านคน ความหนาแน่นเฉลี่ย 13,000-15,000 คน/ตร.กม. และเมือง ปอร์ต ซาอิด มีประชากร 526,000 คน ความหนาแน่นเฉลี่ย 8,800-9,000 คน/ตร.กม.

ศาสนา
            ในอดีตชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้าและมีกษัตริย์ที่เรียกว่า ฟาโรห์ และในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย พระเจ้าอโศกได้ทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับอียิปต์และได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาในเขตเมืองอเล็กซานเดรีย (ดูเพิ่มได้ใน พุทธศาสนาในประเทศอียิปต์) แต่ในปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ 94% นับถือศาสนาอิสลาม นิกายสุหนี่ อีก 6% นับถือศาสนาคริสต์ นิกายคอปติก

ด้านการต่างประเทศ
ช่วงปี พ.. 2498 (.. 1955) สมัยประธานาธิบดีนัสเซอร์ อียิปต์เน้นความเป็นปึกแผ่นในกลุ่มประเทศอาหรับ และพยายามเข้าไปมีบทบาทสาคัญในขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ซึ่งในช่วงนี้ อียิปต์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหภาพโซเวียต ได้รับความช่วยเหลือทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการทหารจากสหภาพโซเวียต และเข้ายึดคลองสุเอซเป็นของรัฐ เมื่อปี พ.. 2499 (.. 1956) เพื่อหารายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมจากคลองสุเอซเป็นทุนสร้างเขื่อนอัสวาน
ปี พ.. 2510 (.. 1967) อียิปต์ส่งทหารไปยึดเมือง Sharm El-Shekh บริเวณตอนใต้ของแหลมไซนาย หลังจากได้เจรจาให้กองทหารนานาชาติถอนออกไปจากไซนายแล้ว พร้อมกับได้ทาการปิดช่องแคบ Tiran เพื่อมิให้อิสราเอลเดินเรือผ่าน การปฏิบัติการเช่นนี้ส่งผลให้เกิดสงครามหกวัน (Six – day War) กับอิสราเอล ฝ่ายอิสราเอลได้รับชัยชนะ อียิปต์และ พันธมิตรอาหรับได้สูญเสียดินแดน ได้แก่ ฉนวนกาซาและแหลมไซนายให้แก่อิสราเอล นับตั้งแต่ประธานาธิบดีซาดัตเข้าดารงตาแหน่งในปี พ.. 2513 (.. 1970) ความสัมพันธ์บางประเทศในอาหรับ อาทิ ลิเบีย และซีเรีย เย็นชาลง อียิปต์หันไปพึ่งพาสหรัฐอเมริกา ให้ช่วยไกล่เกลี่ยในการเจรจาสันติภาพกับอิสราเอล
เมื่อเกิดสงคราม 18 วันจากกรณีอียิปต์ส่งทหารข้ามคลองสุเอซไปยึดครองดินแดนที่สูญเสียคืนการสู้รบได้ยุติลงโดยสหรัฐฯ เป็นผู้ไกล่เกลี่ย โดยได้ตกลงให้มีเขตปลอดทหารระหว่างเขตแดนของอียิปต์และอิสราเอล ภายใต้การควบคุมของกองกาลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติซึ่งยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบัน อียิปต์หันไปพึ่งพาสหรัฐฯ มากขึ้น ยังผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างอียิปต์กับสหภาพโซเวียตถดถอยลง ในปี พ.. 2519 (.. 1976) อียิปต์ได้ยกเลิกสนธิสัญญามิตรภาพกับสหภาพโซเวียต และให้ที่ปรึกษาด้านการทหารของโซเวียตออกจากประเทศ ในขณะเดียวกันสหรัฐฯ ได้ให้ความช่วยเหลือแก่อียิปต์เพิ่มมากขึ้นจนถึงปัจจุบันปีละประมาณ 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ประธานาธิบดีซาดัตได้เดินทางไปเยือนอิสราเอล เมื่อปี พ.. 2520 (.. 1977) เพื่อเจรจาสันติภาพ และอียิปต์ได้มีการลงนามในข้อตกลงสันติภาพที่แคมป์เดวิดเมื่อปี พ.. 2522 (.. 1979) มีผลให้อียิปต์สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอล อิสราเอลยินยอมคืนดินแดนไซนายทั้งหมด (ยกเว้นทาบา) ให้แก่อียิปต์เมื่อปี พ.. 2525 (.. 1982) แต่ผลจากการลงนามดังกล่าวทาให้ประเทศอาหรับส่วนใหญ่ตัดความสัมพันธ์กับอียิปต์ และอียิปต์ถูกขับออกจากสันนิบาตอาหรับเมื่อประธานาธิบดีมูบารัคเข้าบริหารประเทศ
ตั้งแต่ปี พ.. 2524 (.. 1981) ได้พยายามดาเนินนโยบายที่จะนาอียิปต์กลับสู่เป็นน้าหนึ่งใจเดียวกันกับกลุ่มประเทศอาหรับ ด้วยการดาเนินการในด้านต่าง ๆ อาทิ สนับสนุนขบวนการปาเลสไตน์ สนับสนุนอิรักในสงครามระหว่างอิรักกับอิหร่าน สนับสนุนคูเวตในกรณีอิรักเข้ายึดครองคูเวต หลังจากนั้น ประเทศอาหรับต่าง ๆ ได้ปรับความสัมพันธ์ทางการทูตตามปกติกับอียิปต์ ในขณะเดียวกัน อียิปต์ได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากสหรัฐฯ และชาติตะวันตกในการแสวงหาลู่ทางแก้ไขปัญหาตะวันออกกลาง ประธานาธิบดีมูบารัค ดาเนินบทบาทสาคัญในการประสานระหว่างกลุ่มอาหรับและ เป็นตัวเชื่อมในการเจรจากับอิสราเอลในปัญหาตะวันออกกลาง และพยายามแสดงบทบาทนาในกลุ่มประเทศอาหรับและแอฟริกา

ด้านการค้าระหว่างไทยกับอียิปต์
มูลค่าการค้าไทยอียิปต์อยู่ในระดับปานกลาง ในปี 2544 มูลค่าการค้ารวม 151.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าสินค้าออก 103.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นาเข้า 7.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยได้เปรียบดุลการค้า 96.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สาหรับปี พ.. 2545 ตั้งแต่เดือน มกราคมกันยายน มูลค่าการค้าไทย-อียิปต์รวม 96.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าสินค้าออก 88.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นาเข้า 8.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ-ไทยได้เปรียบดุลการค้า 80.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าที่ไทยส่งออกไปอียิปต์ ที่สาคัญได้แก่ ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋อง เสื้อผ้าสาเร็จรูป ใบยาสูบ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ (สาหรับเสื้อผ้าสาเร็จรูป อียิปต์ระบุให้เป็นสินค้าห้ามเข้า แต่ก็มีการลักลอบนาเข้า โดยจะทาในลักษณะการค้านอก รูปแบบ)
สินค้าที่ไทยนาเข้าจากอียิปต์ ได้แก่ เส้นใยใช้ในการทอ น้ามันหล่อลื่นและน้ามันเบรก หนังดิบและหนังฟอก เครื่องตกแต่งบ้านเรือน ดินสอ ปากกา หมึกพิมพ์ และอุปกรณ์เกี่ยวกับการพิมพ์ สบู่ ผงซักฟอก และเครื่องสาอาง แก้วและผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา
ในปัจจุบันอียิปต์มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากขึ้น มีการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีขึ้น และมีการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติเพิ่มขึ้น โดยเข้าไปประกอบอุตสาหกรรมและลงทุนสาขาต่าง ๆ รวมทั้งอุตสาหกรรมประเภทที่ไทยผลิตและส่งออกด้วย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยไปยังอียิปต์ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันอียิปต์ได้เข้าไปร่วมเป็นสมาชิกตลาดร่วมแอฟริกาตะวันออกและใต้ (Common Market of Eastern and Southern Africa – COMESA) ในปี พ.. 2541 (.. 1998) โดยมีจุดมุ่งหมายขยายตลาดสินค้าอียิปต์เข้าไปยังประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกา ฝ่ายไทยจึงอาจพิจารณาสนับสนุนให้นักลงทุนไปลงทุน/ร่วมลงทุนในอียิปต์เพื่อการ ส่งออกไปยังตลาดร่วมแอฟริกาในอนาคต หรือมุ่งใช้อียิปต์เป็นประตูสู่ประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกา เมื่อเดือน มิ.. 44 อียิปต์ได้ลงนามร่วมกับสหภาพยุโรป (อียู) ในความตกลง Euro-Mediterranean Association Agreement ซึ่งจะมีผลตต่อความสัมพันธ์กับอียูในด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ การเงิน ลังคม วัฒนธรรมและการกงสุล




แหล่งที่มาของเนื้อหา